วันศุกร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

การเหยียดเพศและการเหยียดเชื้อชาติอาจอิงอยู่บนพื้นฐานเดียวกัน

        พฤติกรรมการเหยียดเพศ (sexism) และการเหยียดเชื้อชาติ (racism) เป็นสิ่งที่น่ารังเกียจในสังคมยุคใหม่ที่ยอมรับความเท่าเทียมของมนุษย์ทุกคน แต่แม้ว่าคนเราจะแสดงความนิยมในความเสมอภาคมากเท่าไร ลึกๆ ในใจมันก็ต้องมีอคติอยู่บางอย่างด้วยกันทั้งนั้น อาจจะมากบ้างน้อยบ้างแตกต่างกันไปตามแต่ละคน


ทีมวิจัยที่นำ        โดย Maite Garaigordobil แห่ง University of the Basque Country ในสเปน ทำการสำรวจกลุ่มตัวอย่างจากประชากรในแคว้น Basque จำนวน 802 คน อายุระหว่าง 18-65 ปีโดยการให้ตอบแบบสอบถามเพื่อวิเคราะห์ถึงความสัมพันธ์ระหว่างระดับความเป็น sexism และ racism กับลักษณะทางจิตวิทยาอย่างอื่น เช่น ความเชื่อมั่นในตัวเอง บุคลิกภาพ มุมมองที่มีต่อตนเองและผู้อื่น เป็นต้น


        ผลปรากฏว่าคนที่เป็น sexist มีแนวโน้มที่จะยอมรับลำดับชนชั้นและความไม่เท่าเทียมในสังคม มักคิดว่าคนในแต่ละลำดับชั้นได้รับในสิ่งที่เขาสมควรได้รับอยู่แล้วและชนชั้นที่พวกเขาอยู่คือชนชั้นที่ดีที่สุด คนที่เป็น sexist ยังแสดงออกถึงความเห็นอกเห็นใจคนในเชื้อชาติหรือวัฒนธรรมที่ต่างจากตนเองน้อยกว่าคนที่ไม่ได้เป็น sexist ด้วย หรือพูดง่ายๆ ว่าคนที่เป็น sexist มักมีลักษณะที่คาบเกี่ยวกับพฤติกรรมการเป็น racist


       แต่ว่า sexism เองก็ไม่ได้มีความคิดในแง่ร้ายไปเสียหมด การเหยียดผู้หญิงว่าเป็นเพศที่ต่ำกว่าผู้ชายเป็นแนวคิดแบบที่เรียกว่า "hostile sexism" ส่วนการเห็นว่าผู้หญิงเป็นเพศที่อ่อนแอ สมควรได้รับการปกป้อง ถูกจำกัดความไว้ว่าเป็น "benevolent sexism" (นี่เป็นเรื่องที่เฟมินิสต์คนดังหลายคนในประเทศไทยไม่เคยเข้าใจเลย คุณเธอเหล่านั้นเรียกร้องสิทธิสตรีพร้อมกับเชิดชู benevolent sexism โดยไม่กระดากปาก ซึ่งผมเห็นว่ามันไร้ตรรกะมาก)


        นอกจากนี้นักวิจัยยังพบอีกว่าความเป็น sexist ไม่มีความเกี่ยวข้องกับความเชื่อมั่นในตนเอง (self-esteem) ต่างจากทฤษฎีที่เคยเชื่อว่าคนที่มีความเชื่อมั่นในตนเองต่ำจะเป็น sexist และ racist เนื่องจากต้องการใช้ความรู้สึกเหนือกว่าอะไรสักอย่างมาปิดกลบปมด้อยในใจตนเอง



       แต่น่าแปลก ผลการวิจัยกลับชี้ว่าคนที่เป็น hostile sexist จะมีทัศนคติในการมองตนเองที่เน้นย้ำถึงความแตกต่างทางเพศ ถ้าเป็นผู้ชายก็จะเชิดชูว่าเพศชายของตัวเองคือเพศที่กล้าหาญ แข็งแรง มั่นใจ มุ่งมั่น ฯลฯ แต่ถ้าเป็นผู้หญิงก็จะมองเพศหญิงของตนเองอย่างดูถูกว่าเป็นเพศที่ขาดความอดทน ไม่เห็นอกเห็นใจผู้อื่น ไร้หัวใจ บริหารงานไม่เป็น ฯลฯ ส่วนคนที่เป็น benevolent sexist กลับบรรยายตัวเองด้วยคำที่แสดงถึงความเป็นโรแมนติกแบบผู้หญิงหน่อยๆ เช่น เป็นคนอบอุ่น เป็นมิตรกับคนอื่นง่าย เป็นต้น


       

Maite Garaigordobil เน้นว่างานวิจัยนี้ตอกย้ำให้เห็นถึงความจำเป็นในการสร้างทัศนคติความเท่าเทียมระหว่างเพศในระบบการศึกษา มิฉะนั้นผู้หญิงที่มีแนวคิด hostile sexism ก็จะเก็บกด ไม่สามารถดึงศักยภาพของตนเองมาใช้ได้อย่างเต็มที่ ส่วนผู้ชายก็จะมีความคิดกดขี่เพศหญิงต่อไป





วันพฤหัสบดีที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

การเหยียดสีผิว

 ปัญหาการเหยียดสีผิวและเชื้อชาติเป็นปัญหาหนึ่งที่เกิดขึ้นทุกที่ในโลกมาเป็นระยะเวลานาน และยากต่อการแก้ไข แม้ปัจจุบันปัญหานี้จะลดความรุนแรงลงจากอดีตมาก  แต่การเหยียดสีผิวก็ยังคงมีอยู่ในสังคมทั่วทุกมุมโลก

                หนังสือเรื่อง Racial and Ethics Relation in America ได้สะท้อนให้เห็นภาพความโหดร้ายชิงชังของชาวอาณานิคมอเมริกันที่ขับไล่ชนพื้นเมืองดั้งเดิมออกไปจนสุดฝั่งมหาสมุทรตะวันตก พร้อมๆกับการกีดกันคนเชื้อสายอื่นทั้งแอฟริกา เอเชีย ให้อยู่ในฐานะพลเมืองชั้นสอง

                ไม่เฉพาะแต่อเมริกาเท่านั้นที่ในอดีตมีปัญหาการเหยียดสีผิวอย่างรุนแรง  แม้แต่ในแอฟริกาก็เกิดปัญหาดังกล่าวขึ้นเช่นเดียวกัน แม้ว่าคนพื้นเมืองดั้งเดิมจะเป็นเจ้าของพื้นที่และได้ชื่อว่าเป็นผู้อยู่มาก่อน แต่การล่าอาณานิคมของคนผิวขาวในยุคแสวงหาอาณานิคมทำให้ชนพื้นเมืองดั้งเดิมต้องกลายเป็นพลเมืองชั้นสอง  ต้องยอมปฏิบัติตามและตกอยู่ภายใต้การกดขี่ของผู้มาใหม่ทุกประการ ภายหลังเมื่อแอฟริกาใต้ได้รับเอกราชจากอังกฤษและฮอลแลนด์แล้ว  ชาวแอฟริกันก็ยังต้องอยู่ภายใต้การปกครองของคนขาวในฐานะประเทศเอกราชในเครือจักรภพอังกฤษ ด้วยเหตุที่คนขาวมีความรู้ความสามารถมากกว่าจึงใช้อำนาจที่มีกดขี่ข่มเหงคนผิวดำด้วยนโยบายที่ควรได้รับการประณามมากที่สุดนโยบายหนึ่งที่มีชื่อว่า นโยบายการแบ่งแยกสีผิว (Apartheid)

                 การแบ่งแยกสีผิวในแอฟริกาใต้มีการดำเนินการอย่างเป็นระบบภายใต้กฎหมายหลายฉบับที่มีผลในการลิดรอนสิทธิเสรีภาพแทบทุกด้านของชาวแอฟริกาใต้ กฎหมายฉบับหนึ่งซึ่งมีชื่อว่า Group Areas Act มีข้อบังคับให้คนที่ไม่ใช่คนผิวขาว (Non-whites) ต้องย้ายออกไปอยู่ในดินแดนห่างไกลที่รัฐบาลคนผิวขาวได้กำหนดไว้ โดยกันพื้นที่ที่มีความเจริญและมีสิ่งสาธารณูปโภคไว้สำหรับชนผิวชาวเท่านั้น กฎหมายนี้สร้างความเดือดร้อนอย่างมากให้กับคนผิวดำเพราะต้องเดินทางไกลเพื่อ มาทำงานแลกค่าแรงขั้นต่ำในเขตของคนขาว


                 กฎหมายที่มีชื่อว่า Population Registration Act ได้กำหนดให้ผู้ที่อยู่อาศัยในแอฟริกาใต้ต้องมาจดทะเบียนจำแนกตามเชื้อชาติ ของตน มีสี่กลุ่มใหญ่ๆคือ กลุ่มคนขาว(White) กลุ่มคนดำ(Black) กลุ่มคนผิวสี(Coloured) และกลุ่มคนเอเชีย(Asian) กฎหมายฉบับนี้จะจำกัดและกำหนดสิทธิทางสังคม สิทธิทางการเมือง สิทธิในการได้รับบริการจากรัฐและบริการทางการแพทย์ โอกาสทางการศึกษาและสถานะในการทำธุรกิจโดยสิทธิที่ได้รับจะขึ้นอยู่กับกลุ่มเชื้อชาติที่พวกเขาสังกัดอยู่และเป็นที่แน่นอนว่าภายใต้กฎหมายฉบับนี้คนที่ ไม่ใช่คนขาว (Non-whites) ก็จะต้องเป็นผู้ที่ถูกลิดรอนสิทธิต่างๆมากที่สุด
                
                The Separate Representation of Voters Act No. 46 เป็นกฎหมายที่มีการบังคับใช้ในปี 1951 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับเพื่อจำกัดสิทธิทางการเมืองของคนผิวดำกล่าวคือ เพื่อไม่ให้คนดำได้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งผู้แทนของตนในสภานั่นเอง  ซึ่งภายหลังได้ถูกยกเลิกนำมาซึ่งการตั้งพรรคการเมืองของคนผิวดำ เช่น The African National Congress (ANC)

                 ส่วนTerrorism Act No 83 of 1967 เป็นกฎหมายที่ว่าด้วย การป้องกันการก่อการร้ายแต่กลับถูกนำมาใช้ในการปราบปรามคนดำที่ไม่เห็นด้วยกับกฎข้อบังคับหรือคำสั่งของรัฐบาลคนผิวขาว โดยกฎหมายระบุว่าหากผู้ใดกระทำการใดๆที่อาจเชื่อได้ว่าเป็นการผ่าฝืนต่อกฎหมายหรือคำสั่ง ผู้นั้นจะต้องถูกจับไปกักขังไว้โดยไม่มีกำหนดเวลาและโดยไม่ต้องผ่านกระบวน การยุติธรรมตามกฎหมาย (to be detained for an indefinite period without trial)

                 นโยบายการแบ่งแยกสีผิวในแอฟริกาใต้ได้ก่อให้เกิดความไม่พอใจในกลุ่มคนผิวดำ เป็นอย่างมากและกลายเป็นชนวนเหตุของการประท้วง การต่อต้านและจลาจล แต่สิ่งที่น่าสลดใจก็คือรัฐบาลคนผิวขาวตอบแทนกลุ่มผู้ประท้วงด้วยการใช้ กำลังตำรวจเข้าปราบปรามอย่างรุนแรง(police brutality) มีการจับตัวกลุ่มผู้ประท้วงไปกักขังโดยไม่ผ่านกระบวนการยุติธรรม มีการทรมานนักโทษตลอดจนการห้ามการรวมกลุ่มของคนผิวดำที่รูปแบบขององค์กร ต่างๆ อาทิ the African National Congress, the Black Consciousness Movement, the Azanian People's Organisation, the Pan Africanist Congress, and the United Democratic Front.


                  นอกจากนี้เรื่องที่ไม่อาจมองข้ามอีกเรื่องหนึ่งในประเด็นการแบ่งแยกสีผิวก็คือ การเหยียด สีผิวรวมถึงชาติพันธุ์ในเกมฟุตบอล

                   ปัจจุบัน เกือบทุกสโมสรฟุตบอลในระดับลีกสูงสุดของอังกฤษล้วนแต่มีนักฟุตบอลผิวสี และต่างชาติพันธุ์เข้าร่วมและยกระดับมาตรฐานการเล่นฟุตบอลในอังกฤษให้ดียิ่งขึ้น
               
                 นักฟุตบอลผิวดำคนแรกของเกาะอังกฤษ Arthur Wharton เซ็นสัญญาเข้าเป็นนักฟุตบอลอาชีพกับสโมสร Darlington FC ในปี ค.ศ.1889 หรือราวร้อยกว่าปีที่แล้ว   แต่ทว่าการเหยียดผิวในเกมกีฬาชนิดนี้ยังไม่เคยหมดสิ้นไป

                   จาก Wharton จน ถึงปัจจุบัน นักฟุตบอลผิวสีในอังกฤษได้พิสูจน์ให้เห็นถึงความสามารถในเชิงลูกหนังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ปัจจุบันนักฟุตบอลผิวสีในอังกฤษมีจำนวนมากกว่า 25% ของทั้งหมด   แต่จากการสำรวจของเบียร์ Carling ผู้สนับสนุนการแข่งขันของ Premier League ใน ฤดูกาลที่ 1993/94 พบว่ามีเพียง 1% ของแฟนบอลที่ไม่ใช่ "คนผิวขาว" จึงเป็นเหตุผลประการหนึ่งที่เรามักจะเห็นคนผิวขาวหัวรุนแรง รุมร้องรำทำเพลง ยั่วยุ เสียดสีนักเตะผิวสีอยู่เนืองๆ

                    เพลง เชียร์ที่มีท่วงทำนองและเนื้อหาดูถูกและเหยียดสีผิว มักได้ยินบ่อยครั้งในสนามฟุตบอล ในยุคทศวรรษที่ 1970 และ 1980 แฟนบอลผู้นิยมการเหยียดผิวข้างสนามชอบที่จะทำเสียงแบบ "ลิง" เพื่อล้อเลียนยั่วยุนักเตะผิวสีในสนาม

                    ค่านิยม "ขวาจัด" ของกลุ่มแฟนบอลในอังกฤษมีมาเกือบทุกยุคทุกสมัย เริ่มตั้งแต่ในทศวรรษที่ 1930 กลุ่ม British Union of Fascists ได้ทำร้ายแฟนลูกหนังชนชั้นกรรมชีพ จนเกิดเป็นเรื่องราวใหญ่โต จนมาถึงทศวรรษที่ 1970 ในอังกฤษ เหล่าแฟนบอลขวาจัด และเหล่าฮูลิแกน ต่างก็สร้างปัญหาให้กับเกมกีฬานี้ โดยกลุ่มที่เคลื่อนไหวสำคัญคือกลุ่ม The National Front (NF) พวกเขาได้ออกนิตยสาร Bulldog ซึ่งเป็นนิตยสารเกี่ยวกับความบันเทิงและฟุตบอล แน่นอนว่ามีเนื้อหา "การเหยียดสีผิว-ชาติพันธุ์" แฝงอยู่ในนั้นด้วย ขาประจำของ Bulldog มีทั้งแฟนทีมต่างสโมสรต่างๆ ทั่วอังกฤษ ประโยคบรรยายสรรพคุณอย่างหนึ่งของนิตยสารที่ว่า "most racist ground in Britain' ได้กลายเป็นสโลแกนของแฟนทีม West Ham, Chelsea, Leeds United, Millwall, Newcastle United และ Arsenal ซึ่งในขณะนั้นถือว่ามีค่านิยมขวาจัดแข็งแกร่งที่สุดกลุ่มหนึ่งในหลายสโมสรของอังกฤษ

                 เข้าสู่ยุคทศวรรษที่ 1990 ความพยายามแรกในการยับยั้งการเหยียดผิวและชาติพันธุ์ที่เป็นรูปธรรมของอังกฤษก็เกิดขึ้น การร้องเพลงล้อเลียน เสียดสี ที่เกี่ยวกับการเหยียดผิวและชาติพันธุ์ ในระหว่างการแข่งขันฟุตบอลถือว่าเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมายในอังกฤษ แต่ก็ยังไม่เพียงพอที่จะหยุดยั้งการเหยียดผิวและชาติพันธุ์ ผ่านท่วงทำนองการเชียร์ฟุตบอลได้ เนื่องจากการลงโทษปัจเจกชนทำได้ยาก ทั้งจากเรื่องการหาหลักฐานและเจาะจงหาผู้กระทำผิด เพราะบนอัฒจันทร์ที่คละเคล้าไปด้วยผู้คนมากหน้าหลายตา

                จะเห็นได้ว่าการเหยียดสีผิวเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อกำหนดความเหนือกว่าหรือด้อยกว่าบนพื้นฐานของสีผิวและวัฒนธรรมที่แตกต่างกันของมนุษย์  นอกจากนี้แต่ละประเทศมักยึดถือประวัติศาสตร์ที่สอนต่อๆกันมาเพื่อสร้างความชอบธรรมรองรับพฤติกรรมในอดีตของตนโดยไม่คำนึงว่าแท้ที่จริงแล้วมนุษย์ทุกคนล้วนแต่เป็นพี่น้องชาติพันธุ์เดียวกัน  มนุษย์ทุกคนย่อมมีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์จึงควรได้รับการเคารพและปฏิบัติอย่างเสมอภาคเท่าเทียมกัน  การเหยียดสีผิวเพื่อแบ่งแยกความแตกต่างระหว่างกันจึงเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่ทุกคนพึงมีอย่างหนึ่งและหากเอาใจเขามาใส่ใจเราสักนิดคิดว่าถ้าเราได้รับการเลือกปฏิบัติเช่นนั้นเราจะรู้สึกเช่นเดียวกับพวกเขาเหล่านั้นหรือไม่  ปัญหาการเหยียดสีผิวก็คงจะหมดไปจากโลกใบนี้ในที่สุด

การเหยียดรูปลักษณ์ภายนอก

           มนุษย์มักสำคัญตนเหนือกว่าสิ่งรอบข้างเสมอ บ่อยครั้งที่เรามักจะได้ยินคำกล่าวอ้างที่ว่ามนุษย์เป็นสัตว์ประเสริฐ เป็นสิ่งมีชีวิตที่เจริญที่สุดในบรรดาสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย มนุษย์มักขีดเส้นแบ่งตัวเองให้เหนือกว่าสิ่งรอบข้างทั้งหลาย ไม่เพียงแต่สิ่งมีชีวิตอื่นเท่านั้นที่ถูกมนุษย์แบ่งแยกให้ต่ำกว่าตน แม้แต่มนุษย์ด้วยกันเองยังถูกจัดประเภทจากการที่เขามีความแตกต่างจากมนุษย์กลุ่มนั้น
ปัญหาการเหยียดรูปลักษณ์ภายนอกเป็นปัญหาที่สำคัญมากในปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นสังคมไหนๆล้วนมีคนที่ประสบเจอกับปัญหานี้ทั้งนั้น การเหยียดรูปลักษณ์ภายนอกที่กลุ่มของดิฉันนำเสนอนี้เป็นการเหยียดรูปลักษณ์ภายนอกของสังคมไทยในกลุ่มวัยรุ่นซึ่งเป็นปัญหาที่ต้องได้รับการคลี่คลายอย่างรวดเร็วเพื่อให้วัยรุ่นทุกคนอยู่ร่วมกันในสังคมไทยได้อย่างมีความสุขทางคณะผู้จัดทำจึงหาทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นนี้และทำความเข้าใจใหม่ให้กับวัยรุ่นในสังคม

Image.jpg

ซึ่งปัญหาการเหยียดรูปลักษณ์ภายนอกประกอบไปด้วยหลายอย่าง เช่น การเหยียดสีผิว ซึ่งการเหยียดสีผิวนี้พบได้ในหลายๆประเทศทั่วโลก หรือ การเหยียดเชื้อชนชาติกัน สามารถพบได้ในประเทศญี่ปุ่นและหลายๆประเทศ เป็นต้น โดยในต่างประเทศ เช่น ญี่ปุ่นหรือเมริกา ก็มีการออกมาแสดงตัวอย่างชัดเจนในการไม่ยอมรับผู้อื่นโดยมองจากรูปลักษณ์ภายนอก แต่ในทางกลับกันก็มีการรณรงค์หรือแสดงวิธีต่างให้ผู้นคนเลิกมองผู้อื่นเพียงภายนอก 




    

วันพุธที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

องค์ประกอบและหลักการทำงานของคอมพิวเตอร์

1. องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์คอมพิวเตอร์ จะทำงานได้ต้องประกอบไปด้วยส่วนสำคัญ 5 ส่วนด้วยกันคือ

1. หน่วยรับเข้า (Input Unit)
2. หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit)
3. หน่วยความจำหลัก (Main Memory Unit)
4. หน่วยความจำรอง (Secondary Memory Unit)
5. หน่วยแสดงผล (Output Unit)

หน่วยรับเข้า (Input Unit)

ทำหน้าที่รับข้อมูลคำสั่งจากผู้ใช้ เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อนำไปประมวลผล ข้อมูลที่รับเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์มีหลากหลาย เช่น ตัวอักษร, ตัวเลข, รูปภาพ, เสียง เป็นต้น โดยผ่านอุปกรณ์สำหรับนำเข้าข้อมูลรูปแบบต่างๆ เมาส์, คีย์บอร์ด, เครื่องอ่านพิกัด, เครื่องอ่านรหัสแท่ง, เครื่องสแกน, กล้องดิจิทัล, ไมโครโฟน

หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit)
ทำหน้าที่ประมวลผล คำนวณ และควบคุมการทำงานต่างๆ ของระบบคอมพิวเตอร์
1. หน่วยควบคุม (Control Unit : CU)
ทำหน้าที่อ่านคำสั่ง สั่งงาน และควบคุมการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ทั้งหมด
2. หน่วยคำนวณตรรกะ (Arithmetic and Logic Unit : ALU)
ทำหน้าที่คำนวณด้วยวิธีการทางคณิตศาสตร์ เช่น บวก ลบ คูณ หาร การเปรียบเทียบข้อมูลมากกว่า น้อยกว่า เป็นต้น

หน่วยความจำหลัก (Main Memory Unit)

เป็นหน่วยเก็บข้อมูลก่อนนำไปประมวลผล เก็บคำสั่งโปรแกรมขณะใช้งาน และเก็บผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลก่อนนำไปแสดงผล หน่วยความจำหลักแบ่งออกเป็น 2 ประเภท

1. หน่วยความจำหลักแบบอ่านได้อย่างเดียว (Read Only Memory : ROM)
เป็นหน่วยความจำที่บริษัทผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ได้บรรจุชิปหน่วยความจำแบบติดตั้งถาวร หรือไบออส (Basic Input Output System : BIOS) ไว้บนแผงวงจรหลักเรียบร้อยแล้ว โดยข้อมูลที่บรรจุลงไปในหน่วยความจำจะยังคงอยู่แม้จะปิดเครื่องไปแล้ว แต่ไม่สามารถบรรจุข้อมูลเพิ่มเติมลงไปได้



2. หน่วยความจำหลักแบบแก้ไขได้ (Random Access Memory : RAM)
เป็นหน่วยความจำที่ใช้สำหรับเก็บข้อมูลและคำสั่ง มีหน้าที่จดจำคำสั่งที่เป็นโปรแกรมและข้อมูลที่จะทำการประมวลผล หากเกิดไฟฟ้าดับหรือไม่มีกระแสไฟฟ้าข้อมูลที่อยู่ภายในจะหายไปทั้งหมด


หน่วยความจำรอง (Secondary Memory Unit)
เป็นหน่วยความจำที่สามารถรักษาข้อมูลได้ตลอดไป ไม่มีทางสูญหายหลังจากเปิดเรื่องคอมพิวเตอร์แล้ว




หน่วยส่งออก (Output Unit)
เป็นหน่วยที่ทำหน้าที่แสดงผลลัพธ์ออกมาให้ผู้ใช้งานสามารถรับรู้ได้ตามต้องการ ซึ่งการส่งออกเป็นผลัพธ์สามาถส่งออกได้หลายรูปแบบ เช่น ภาพ, เอกสาร, เสียง และอุปกรณ์ที่สามารถแสดงผลลัพธ์ก็มีหลายนิด เช่น ลำโพง, จอมอนิเตอร์, เครื่องฉายโปรเจ็คเตอร์, เครื่องพิมพ์ เป็นต้น


2. หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์

การทำงานของคอมพิวเตอร์เริ่มต้นจากผู้ใช้งานป้อนข้อมูล หรือคำสั่งผ่านอุปกรณ์รับข้อมูล (Input Unit) ไปประมวลผล (Central Processing Unit) เพื่อประมวลผลตามข้อมูลหรือคำสั่งที่ได้รับ อาจมีการเก็บข้อมูลไว้ในหน่วยความจำหลัก (Main Memory Unit) เพื่อการประมวลผล แล้วแสดงผลลัพธ์ผ่านทางอุปกรณ์แสดงผล (Output Unit) ชนิดต่างๆ หากผู้ใช้ต้องการการบันทึกข้อมูลเก็บไว้ ก็จะทำการบันทึกข้อมูลลงหน่วยความจำรอง (Secondary Memory Unit) ชนิดต่างๆ ต่อไป 
การแทนที่ข้อมูลในคอมพิวเตอร์
ข้อมูลต่างๆ ที่เก็บภายในเครื่องคอมพิวเตอร์จะเก็บอยู่ในรูปแบบเลขฐาน 2 คือ 0 และ 1 ไม่ใช่อย่างที่เราเห็น ไม่ว่าจะเป็นรูปภาพ เพลง ข้อความ ภาพเคลื่อนไหวต่างๆ โดยข้อมูลเลขฐาน 2 ที่ถูกเก็บไว้ เมื่อมีการเรียกใช้งานคอมพิวเตอร์จะทำการประมวลผลตัวเลขฐาน 2 ของข้อมูลนั้นๆ แล้วแสดงผลออกมาให้เราได้รับรู้ เช่น รูปภาพ เพลง ข้อความ ภาพเคลื่อนไหวต่างๆ

1. บิต (bit)
เป็นส่วนที่เล็กที่สุดของการเก็บข้อมูล เลขฐาน 2 คือ 0 และ 1 จำนวน 1 ตัว จะเรียกว่า 1 บิต เช่น 1001 จะเรียกว่า 4 บิต หากเปรียบเสมือนหลอดไฟ 0 หมายถึงปิดไฟ, 1 หมายถึงเปิดไฟ


2. ไบต์ (byte)
เกิดจากเลขฐาน 2 จำนวน 8 ตัวเรียงกัน หรือ 8 บิต นั่นเอง เข้าใจง่ายๆ คือ 8 บิต = 1 ไบต์ เช่น 10011001 แบบนี้เรียกว่า 1 ไบต์ ซึ่งตัวเลขจำนวน 8 หลักนี้ จะได้ค่าที่แตกต่างกันถึง 256 ค่า 1 ไบต์ มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ออกเทต (octet) แต่ถ้า 4 บิต จะมีชื่อเรียกอีกอย่างว่า นิบเบิล (nibble)





3. รหัสเอ็บซีดิก (Extended Binary Coded Decimal Interchange Code : EBCDIC)
เป็นรหัสที่พัฒนาโดยบริษัท IBM เพื่อใช้กับรบบปฏิบัติการขนาดใหญ่ เช่น OS-390 สำหรับเครื่องแม่ข่าย S/390 ถูกนำมาใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ของ IBM ทั้งหมด รหัสเอ็บซีดิก มีขนาด 8 บิต แทนรหัสอักขระได้ 256 ตัว ปัจจุบันรหัสเอ็บซีดิกไม่เป็นที่นิยมและกำลังจะเลิกใช้งาน




4. รหัสแอสกี (American Standard Code for Information Interchange : ASCII)
เป็นรหัสมาตรฐานที่กำหนดโดยสถาบันมาตรฐานแห่งชาติอเมริกา (American National Standards Institute : ANSI) เป็นรหัสที่นิยมใช้งานกันมากที่สุดบนเครื่องคอมพิวเตอร์ เริ่มมีการใช้งานครั้งแรกเมื่อ ค.ศ.1967 รหัสแอสกี แต่เดิมประกอบด้วยรหัส 7 บิต เพื่อแทนอักขระทั้งหมด 128 ตัว ในปี ค.ศ. 1986 ได้ทำการปรับปรุงใหม่ให้เป็นรหัส 8 บิต โดยเพิ่มเข้ามาอีก 1 บิต เพื่อใช้ในการตรวสสอบความถูกต้อง เรียกบิตสุดท้ายนี้ว่า พาริตี้บิต (Parity bit)


5. ยูนิโค้ด (Unicode)
เป็นรหัสที่ถูกพัฒนามาในปี พ.ศ.2534 และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ยูนิโค้ดช่วยให้คอมพิวเตอร์แสดงผล และจัดการข้อความตัวอักษรที่ใช้ระบบการเขียนของภาษาส่วนใหญ่ทั่วโลก ยูนิโค้ดเป็นเลขฐาน 2 ตั้งแต่ 1 ถึง 4 ไบต์ ทำให้สามารถรองรับการเก็บข้อมูลอักขระได้กว่า 100,000 ตัว

การประมวลผลของซีพียู

1. การรับเข้าข้อมูล (Fetch) รับรหัสคำสั่งและข้อมูล จากหน่วยความจำ
2. การถอดรหัส (Decode) ทำการถอดรหัสคำสั่งได้รับ และส่งต่อไปยังส่วนคำนวณและตรรกะ
3. การทำงาน (Execute) ทำการคำนวณข้อมูลที่ถอดรหัสแล้ว และสั่งให้ CPU ทำงานตามคำสั่ง
4. การเก็บข้อมูล (Store) ทำการเก็บข้อมูลไว้ในหน่วยความจำหลัก

การรับส่งข้อมูลภายในคอมพิวเตอร์
แผงวงจรหลัก หรือเมนบอร์ด (Motherboard/Mainboard)
เปรียบเสมือนศูนย์กลางของเครื่องคอมพิวเตอร์ เพราะอุปกรณ์ทุกอย่าง จะต้องทำการเชื่อมต่อกับแผงวงจรหลักนี้


บัส (Bus)
หมายถึง ช่องทางการติดต่อสื่อสารข้อมูลของอุปกร์ต่างๆ บัสในหน่วยประมวลผลกลางประกอบไปด้วย
1. บัสข้อมูล (Data Bus) เป็นบัสที่หน่วยประมวลผลกลาง ใช้เป็นเส้นทางในการควบคุมและ การขนส่งข้อมูล ระหว่างหน่วยประมวลผลกลาง และอุปกรณ์ภายนอก
2. บัสรองรับข้อมูล (Address Bus) เป็นบัสที่หน่วยประมวลผลกลาง เลือกว่าจะส่งข้อมูลหรือรับข้อมูลจากอุปกรณ์ใด โดยจะส่งสัญญาณมาที่บัสรองรับข้อมูลนี้
3. บัสควบคุม (Control Bus) เป็นบัสที่รับสัญญาณการควบคุมจากหน่วยประมวลผลกลาง เพื่อบังคับว่าจะอ่านข้อมูลเข้า หรือจะส่งข้อมูลออก

องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ

        ระบบสารสนเทศ เป็นระบบที่ช่วยเสริมประสิทธิภาพการทำงานโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อสาร ระบบสารสนเทศประกอบด้วย
1.2.1 ฮาร์ดแวร์ (hardware) หมายถึง ตัวเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ เช่น คีย์บอร์ด (keyboard) เมาส์ (mouse) จอภาพ (monitor) จอภาพสัมผัส (touch screen) ปากกาแสง (light pen) เครื่องอ่านรหัสแท่ง (barcode reader) เครื่องพิมพ์ (printer) ฮาร์ดดิสก์ (hard disk) รวมทั้งอุปกรณ์สื่อสารสำหรับเสื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้าเป็นเครือข่าย เช่น โมเด็ม (modem) และสายสัญญาณ



1.2.2 ซอฟต์แวร์ (software) หมายถึง โปรแกรมหรือชุดคำสั่ง ( instruction ) ที่ใช้ควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ เพื่อให้ทำงานตามคำสั่งของผู้ใช้ โดยทั่วไปโปรแกรม หรือชุดคำสั่งจะถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่คือ

-ซอฟต์แวร์ระบบ ( system software ) หมายถึง ชุดคำสั่งที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ และทำหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างผู้ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์ระบบแบ่งออกเป็น
1) ระบบปฏิบัติการ(Operating System: OS) เป็นซอฟต์แวร์ที่หน้าที่ควบคุมการทำงานของอุปกรณ์และซอฟต์แวร์ทั้งหมดภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ ดังรูปที่ 1.5 โดยจะทำหน้าที่ดูแลและจัดหาให้ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่ติดตั้งอยู่ทำงานประสานกันอย่างเป็นระบบ ตัวอย่างระบบปฏิบัติการ เช่น วินโดวส์ (windows) ลินุกซ์ (Linux) และแมคโอเอส (mac OS)



2) โปรแกรมอรรถประโยชน์ (utilities program) เป็นโปรแกรมที่ช่วยเสริมการทำงานของคอมพิวเตอร์ หรือช่วยโปรแกรมใช้งานอื่นๆ ให้มีความสามารถใช้งานได้สะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น เช่นโปรแกรมที่ใช้ในการจัดเก็บข้อมูล (file manager) โปรแกรมที่ใช้งานได้สะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น เช่น (back and restore) โปรแกรมที่ใช้ในการบีบอัดแฟ้มข้อมูล (file compression) และโปรแกรมที่ใช้ในการจัดพื้นที่ของดิสก์ (disk defragmenter)

3) โปรแกรมขับอุปกรณ์ หรือดีไวซ์ไดร์ฟเวอร์ (device driver) เป็นโปรแกรมที่ช่วยในการติดตั้งระบบเพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถติดต่อหรือใช้งานอุปกรณ์ต่างๆ



4) โปรแกรมแปลภาษา เป็นโปรแกรมที่ทำหน้าที่แปลโปรแกรมที่เขียนขึ้นด้วยภาษาคอมพิวเตอร์ระดับสูงให้เป็นรหัสที่อยู่ในรูปแบบที่เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้




-ซอร์ฟแวร์ประยุกต์ (application software) หมายถึง ชุดคำสั่งที่เขียนขึ้นเพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานตามวัตถุประสงค์เฉพาะอย่าง ซอร์ฟแวร์ประยุกต์อาจเขียนขึ้นโดยใช้โปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ เช่น เบสิก (basic) ปาสคาล (pascal) โคบอล (cobol) ซี (C) ซีพลัสพลัส (C ++) และวาจา (Java) ซอฟต์แวร์ประยุกต์แบ่งตามกลุ่มการใช้งานได้

1.2.3. ข้อมูล(date) ข้อมูลจะถูกรวบรวมและป้อนข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ โดยผ่านอุปกรณ์ของหน่วยรับเข้า เช่น คีย์บอร์ด และ สแกนเนอร์ (scanner) ข้อมูลต้องมีโครงสร้างในการจัดเก็บที่เป็นระบบเพื่อการสืบค้นที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ข้อมูลจะถูกจัดเก็บอยู่ในหน่วยความจำ (memory unit) ก่อนที่จะถูกย้ายไปเก็บที่หน่วยเก็บข้อมูล (storage unit) เช่น ฮาร์ดดิสก์ และแผ่นซีดี (compact Disc : CD) การป้องกันข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ ดังรูปที่ 1.10


1.2.4.บุคลากร (people) บุคลากรเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดของระบบสารสนเทศ ในที่นี้หมายถึงบุคคลากรที่เป็นผู้พัฒนาระบบสารสนเทศ ดังรูปที่ 1.11 บุคคลากรที่เป็นผู้พัฒนาระบบสารสนเทศจะต้องมีความรู้ความสามารถในการพัฒนาระบบสารสนเทศให้มีประสิทธิภาพให้สามารถทำงานได้ตามความต้องการของผู้ใช้ ง่ายและสะดวก ส่วนผู้ใช้ต้องมีความรู้ ความเข้าใจ และมีความสามารถในการใช้งานระบบ สารสนเทศและการสื่อสารต่างๆ ได้อย่างถูกต้องจึงเกิดสารสนเทศที่เป็นประโยชน์


1.2.5 ขั้นตอนการปฏิบัติงาน (procedure)
ระบบสารสนเทศต้องมีขั้นตอนการปฏิบัติงานที่เป็นลำดับขั้นชัดเจน เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเข้าใจได้ง่าย และดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งในสถานการณ์ปกติและสถานการณ์ฉุกเฉิน เช่น ขั้นตอนการบันทึกข้อมูล ขั้นตอนการทำสำเนาข้อมูลขั้นตอนการปฏิบัติเมื่อข้อมูลได้รับความเสียหาย หรือเมื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ต่างๆ เกิดการชำรุดเสียหาย ขั้นตอนต่างๆ เหล่านี้ควรได้รับการรวบรวมและจัดทำให้เป็นรูปเล่ม ของคู่มือการใช้งาน



     องค์กรต่างๆ มีการลงทุนจำนวนมากในการจัดหาระบบสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพเพื่อนำมาช่วยงานทั้งด้านการบริหารและการจัดการงานทั่วไปขององค์กร โดยเน้นที่คุณภาพของระบบสารสนเทศและความคุ้มค่าในการลงทุน การใช้ระบบสารสนเทศจะเริ่มจากการนำขย้อนมูลป้อนเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ ระบบคอมพิวเตอร์จะทำการประมวลข้อมูลเหล่านั้น แล้วจึงส่งผลลัพธ์ออกมาให้กับผู้ใช้ ผู้ใช้ระบบสารสนเทศจะนำสารสนเทศนั้นไปใช้ประกอบการตัดสินใจในการทำกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่ง หากผลลัพธ์ที่ได้จาการประมวลผลไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ ก็ต้องย้อนมาพิจารณาเริ่มต้นที่ขั้นตอนการป้อนข้อมูลใหม่อีกครั้งว่า ข้อมูลเข้า และขั้นตอนอื่นๆ มีความถูกต้อง สมบรูณ์หรือไม่