![](https://tuupasin.files.wordpress.com/2014/10/racism.jpg)
ผลปรากฏว่าคนที่เป็น sexist มีแนวโน้มที่จะยอมรับลำดับชนชั้นและความไม่เท่าเทียมในสังคม มักคิดว่าคนในแต่ละลำดับชั้นได้รับในสิ่งที่เขาสมควรได้รับอยู่แล้วและชนชั้นที่พวกเขาอยู่คือชนชั้นที่ดีที่สุด คนที่เป็น sexist ยังแสดงออกถึงความเห็นอกเห็นใจคนในเชื้อชาติหรือวัฒนธรรมที่ต่างจากตนเองน้อยกว่าคนที่ไม่ได้เป็น sexist ด้วย หรือพูดง่ายๆ ว่าคนที่เป็น sexist มักมีลักษณะที่คาบเกี่ยวกับพฤติกรรมการเป็น racist
แต่ว่า sexism เองก็ไม่ได้มีความคิดในแง่ร้ายไปเสียหมด การเหยียดผู้หญิงว่าเป็นเพศที่ต่ำกว่าผู้ชายเป็นแนวคิดแบบที่เรียกว่า "hostile sexism" ส่วนการเห็นว่าผู้หญิงเป็นเพศที่อ่อนแอ สมควรได้รับการปกป้อง ถูกจำกัดความไว้ว่าเป็น "benevolent sexism" (นี่เป็นเรื่องที่เฟมินิสต์คนดังหลายคนในประเทศไทยไม่เคยเข้าใจเลย คุณเธอเหล่านั้นเรียกร้องสิทธิสตรีพร้อมกับเชิดชู benevolent sexism โดยไม่กระดากปาก ซึ่งผมเห็นว่ามันไร้ตรรกะมาก)
นอกจากนี้นักวิจัยยังพบอีกว่าความเป็น sexist ไม่มีความเกี่ยวข้องกับความเชื่อมั่นในตนเอง (self-esteem) ต่างจากทฤษฎีที่เคยเชื่อว่าคนที่มีความเชื่อมั่นในตนเองต่ำจะเป็น sexist และ racist เนื่องจากต้องการใช้ความรู้สึกเหนือกว่าอะไรสักอย่างมาปิดกลบปมด้อยในใจตนเอง
แต่น่าแปลก ผลการวิจัยกลับชี้ว่าคนที่เป็น hostile sexist จะมีทัศนคติในการมองตนเองที่เน้นย้ำถึงความแตกต่างทางเพศ ถ้าเป็นผู้ชายก็จะเชิดชูว่าเพศชายของตัวเองคือเพศที่กล้าหาญ แข็งแรง มั่นใจ มุ่งมั่น ฯลฯ แต่ถ้าเป็นผู้หญิงก็จะมองเพศหญิงของตนเองอย่างดูถูกว่าเป็นเพศที่ขาดความอดทน ไม่เห็นอกเห็นใจผู้อื่น ไร้หัวใจ บริหารงานไม่เป็น ฯลฯ ส่วนคนที่เป็น benevolent sexist กลับบรรยายตัวเองด้วยคำที่แสดงถึงความเป็นโรแมนติกแบบผู้หญิงหน่อยๆ เช่น เป็นคนอบอุ่น เป็นมิตรกับคนอื่นง่าย เป็นต้น
Maite Garaigordobil เน้นว่างานวิจัยนี้ตอกย้ำให้เห็นถึงความจำเป็นในการสร้างทัศนคติความเท่าเทียมระหว่างเพศในระบบการศึกษา มิฉะนั้นผู้หญิงที่มีแนวคิด hostile sexism ก็จะเก็บกด ไม่สามารถดึงศักยภาพของตนเองมาใช้ได้อย่างเต็มที่ ส่วนผู้ชายก็จะมีความคิดกดขี่เพศหญิงต่อไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น